สนาม:หมอดีออนไลน์
บทนำ:ยังแว่วๆ แนวร่วมคนเสื้อแดง รวมไปถึงบรรดาทายาททางการเมืองที่เตรียมรับไม้ต่อสนามการเมืองใหญ่ จากเจ้าของพื้นที่เดิมทางสายเลือด ถือโอกาสเดินทางไปแนะนำฝากเนื้อฝากตัวในคราวเดียวกัน...
สนาม: ส่านซีเศรษฐกิจจีน
บทนำ: มหอการค้าไทยเผยดัชนีคอร์รัปชันมีแนวโน้มรุนแรงและล่อแหลมมากขึ้น เหตุเข้าใกล้ช่วงประมูลงานภาครัฐ ทำให้สัญญาณคอร์รัปชันกลับมา ระบุผู้ประกอบการร้อยละ 24 ยังต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ 5-15% เฉลี่ยงบฯ 1-2 แสนล้านบาทหายไปจากระบบ เมื่อวันพฤหัสบดี นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย หรือ CSI ประจำเดือนธันวาคม 2560 จากกลุ่มตัวอย่าง 2,400 ตัวอย่าง ทั้งข้าราชการ ผู้ประกอบการ และภาคประชาชน พบว่า ค่าดัชนีอยู่ที่ 52 จากเต็ม 100 ลดลงจาก 53 ในเดือน มิย60 ขณะที่ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยในปัจจุบัน อยู่ที่ 51 ลดลงจาก 52 ในเดือน มิย60 ส่วนดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอร์รัปชันไทย อยู่ที่ 53 ลดลงจาก 54 ในเดือน มิย60 อนึ่ง ดัชนียิ่งมีค่าใกล้ 100 แสดงว่าสถานการณ์การคอร์รัปชันมีปัญหาลดน้อยลงหรือสถานการณ์ดีขึ้น และดัชนียิ่งเข้าใกล้ 0 แสดงว่าสถานการณ์คอร์รัปชันมีปัญหามากขึ้นหรือสถานการณ์แย่ลง อธิการบดี มหอการค้าฯ ระบุว่า จากการสอบถามผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐจะต้องจ่ายเงินพิเศษ หรือเงินใต้โต๊ะ ส่วนใหญ่ร้อยละ 54 ไม่ต้องจ่าย ส่วนอีกร้อยละ 24 ยังต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ ซึ่งจ่ายเฉลี่ยที่ร้อยละ 5-15 ของเม็ดเงินโครงการ โดยหากประเมินวงเงินคอร์รัปชันจากงบประมาณรายจ่าย 2561 ที่ 29 ล้านล้านบาท จะเกิดเป็นมูลค่าวงเงินคอร์รัปชันประมาณ 1- 2 แสนล้านบาทที่หายไปจากระบบ และกระทบต่อจีดีพีให้ลดลงร้อยละ 041-123 ทั้งนี้ เมื่อแยกดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชัน 4 หมวด พบว่า ดัชนีปัญหาและความรุนแรงของการคอร์รัปชันเดือน ธค60 มีค่าเท่ากับ 42 ลดลงจากการสำรวจเดือนมิย60 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 44 ด้านดัชนีการป้องกันการคอร์รัปชันมีค่าเท่ากับ 53 เท่ากับในการสำรวจเมื่อเดือนมิย60 ดัชนีการปราบปรามการคอร์รัปชันเดือน ธค60 มีค่าเท่ากับ 53 ลดลงจากการสำรวจเดือน มิย60 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 54 และดัชนีการสร้างจริยธรรมและจิตสำนึกมีค่าเท่ากับ 60 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเดือน มิย60 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 60 อย่างไรก็ตาม ภาพรวมความรุนแรงของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในปัจจุบันเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จำนวน 37% มองว่ารุนแรงเพิ่มขึ้น, 33% มองว่าเท่าเดิม และ 30% มองว่าลดลง ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหอการค้าไทย ได้ทำการสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย จาก 2,400 ตัวอย่าง จากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ข้าราชการ และนักธุรกิจ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหอการค้าไทย ประเมินว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยที่ออกมา บ่งบอกได้ว่าสถานการ์คอร์รัปชันมีความรุนแรงและล่อแหลมมากขึ้น และเริ่มเห็นสัญญาณการจ่ายเงินใต้โต๊ะในสัดส่วนมากกว่า 20% เพิ่มมากขึ้น แม้จะมีมาตรการป้องกันต่างๆ แต่หน่วยงานภาครัฐเริ่มหาช่องทางในการหาเงินใต้โต๊ะ ซึ่งการแก้ไขปัญหายังไม่ยากนัก เพราะประชาชนและภาคเอกชนมีความตื่นตัวและพร้อมร่วมตรวจสอบมากขึ้น ส่วนกรณีประเด็นเรื่องนาฬิกาหรูที่สังคมให้ความสนใจ จะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันหรือไม่นั้นนายธนวรรธน์กล่าวว่า ผลการสำรวจไม่ได้เจาะจงประเด็นนี้ และผลโพลไม่ได้ชี้เรื่องนี้ออกมา แต่เมื่อมีประเด็นต่างๆ ประชาชนสามารถสัมผัสได้ และมีมุมมองสะท้อนออกมาได้ ซึ่งสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลมีความจริงจังกับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันเพียงใด ส่วนจะส่งให้การประเมินดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยในรอบหน้าแย่ลงหรือไม่นั้น นายธนวรรธน์มองว่า ขึ้นอยู่กับความจริงจังของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา เพราะหลังจากนี้จะเข้าสู่ช่วงการประมูลโครงการของรัฐบาลมากขึ้น ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นสัญญาณคอร์รัปชันที่แย่ลง หากนับจากช่วงเดือนมิถุนายน 2558 ที่รัฐบาลเริ่มทำงาน รวมไปถึงดัชนีปัญหาและความรุนแรงของคอร์รัปชันก็แย่ลงด้วย โดยในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ 42 เทียบกับช่วงก่อนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ 44 ซึ่งสาเหตุมาจากรัฐบาลกำลังเข้าสู่ช่วงการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง จึงเห็นสัญญาณของการคอร์รัปชันเริ่มกลับมา นายธนวรรธน์กล่าว
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-03-08